Facebook ฟ้องคนขาย Like ปลอม
https://chipathait.blogspot.com/2014/10/facebook-like.html
Facebook เริ่มเอาจริง ดำเนินการจัดการกับ like ปลอมแล้ว
ล่าสุดทาง Facebook ยื่นฟ้องร้องเรียกเงินค่าเสียหายมากกว่า 2,000 ล้านดอลล่าร์จากคนที่ขายไลค์ปลอมบนเฟสบุ้คด้วยวิธีสแปม
หลายๆเพจหรือแบรนด์ต่างๆนิยมซื้อไลค์ปลอมเหล่านี้เพื่อให้คนที่กดมาดูเข้าใจว่าหน้าเพจนั้นๆได้รับความนิยมสูง แต่ทางเฟสบุ้คเห็นว่าการปั๊มเพจด้วยอดไลค์ปลอมเป็นผลเสียมากกว่าผลดี สุดท้ายธุรกิจอาจจะไม่ประสบความสำเร็จบนสื่อสังคมออนไลน์
ทางเฟสบุ้คได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ลงในบล็อกว่า ”เรามีความตั้งใจอย่างสูงในการกำจัดไลค์ปลอม เพราะบุคคลและหน่วยงานต่างๆที่เข้าใช้แพลตฟอร์มของเราเพราะต้องการการสื่อสารและผลลัพท์ที่แท้จริง ไม่ใช่ของปลอมๆ” ธุรกิจขายไลค์มักจะยั่วยวนเจ้าของเพจด้วยโฆษณาว่า “รับเพิ่มยอด 10,000 ไลค์” หรือข้อความอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน ในการปั๊มยอดไลค์ปลอมนั้นมักจะสร้างบัญชีปลอมขึ้นมาเพื่อกดไลค์หรือแฮคบัญชีผู้ใช้จริงเพื่อใช้ส่งสแปมให้คนหลงมากดไลค์ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้นอกจากการฟ้องร้องคนที่ขายไลค์แล้ว ทางเฟสบุ้คเองก็ยังพัฒนาอัลกอริทึ่มในการจับโปรแกรมสแปมเหล่านี้ด้วย
ทาง BBC News เองก็เคยทำการทดสอบปัญหาที่เกิดจาการปั๊มไลค์ปลอมเมื่อปี 2012 ด้วยการร่วมมือกับ Rory Cellan-Jones ตั้งบริษัทปลอมขึ้นมาในชื่อ VirtualBagel เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเค้าจ่ายเงินโฆษณาออกไปบนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งก็พบว่ายอดไลค์ส่วนใหญ่ที่เพจของ VirtualBagel ได้รับมาจากบัญชีผู้ใช้ท่น่าสงสัย โดยบัญชีเหล่านี้ไม่มีอันไหนเลยที่เป็นลูกค้าจริงๆสักราย
ที่มา dailygizmo
ล่าสุดทาง Facebook ยื่นฟ้องร้องเรียกเงินค่าเสียหายมากกว่า 2,000 ล้านดอลล่าร์จากคนที่ขายไลค์ปลอมบนเฟสบุ้คด้วยวิธีสแปม
หลายๆเพจหรือแบรนด์ต่างๆนิยมซื้อไลค์ปลอมเหล่านี้เพื่อให้คนที่กดมาดูเข้าใจว่าหน้าเพจนั้นๆได้รับความนิยมสูง แต่ทางเฟสบุ้คเห็นว่าการปั๊มเพจด้วยอดไลค์ปลอมเป็นผลเสียมากกว่าผลดี สุดท้ายธุรกิจอาจจะไม่ประสบความสำเร็จบนสื่อสังคมออนไลน์
ทางเฟสบุ้คได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ลงในบล็อกว่า ”เรามีความตั้งใจอย่างสูงในการกำจัดไลค์ปลอม เพราะบุคคลและหน่วยงานต่างๆที่เข้าใช้แพลตฟอร์มของเราเพราะต้องการการสื่อสารและผลลัพท์ที่แท้จริง ไม่ใช่ของปลอมๆ” ธุรกิจขายไลค์มักจะยั่วยวนเจ้าของเพจด้วยโฆษณาว่า “รับเพิ่มยอด 10,000 ไลค์” หรือข้อความอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน ในการปั๊มยอดไลค์ปลอมนั้นมักจะสร้างบัญชีปลอมขึ้นมาเพื่อกดไลค์หรือแฮคบัญชีผู้ใช้จริงเพื่อใช้ส่งสแปมให้คนหลงมากดไลค์ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้นอกจากการฟ้องร้องคนที่ขายไลค์แล้ว ทางเฟสบุ้คเองก็ยังพัฒนาอัลกอริทึ่มในการจับโปรแกรมสแปมเหล่านี้ด้วย
ทาง BBC News เองก็เคยทำการทดสอบปัญหาที่เกิดจาการปั๊มไลค์ปลอมเมื่อปี 2012 ด้วยการร่วมมือกับ Rory Cellan-Jones ตั้งบริษัทปลอมขึ้นมาในชื่อ VirtualBagel เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเค้าจ่ายเงินโฆษณาออกไปบนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งก็พบว่ายอดไลค์ส่วนใหญ่ที่เพจของ VirtualBagel ได้รับมาจากบัญชีผู้ใช้ท่น่าสงสัย โดยบัญชีเหล่านี้ไม่มีอันไหนเลยที่เป็นลูกค้าจริงๆสักราย
ที่มา dailygizmo