มาแล้ว Android One ล็อตแรก…เปิดตัวอินเดียก่อนใคร
https://chipathait.blogspot.com/2014/09/android-one.html
หลังจากที่เผยข้อมูลบางส่วนไปในงาน Google I/O 2014 ว่าเตรียมเปิดตัว Android One ในอินเดีย วันนี้ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวสมาร์ทโฟนสำหรับผู้ที่เริ่มใช้งานเป็นเครื่องแรก ภายใต้การผลิต OEMs จากบริษัมผู้ผลิตอินเดียอย่าง Karbonn, Micromax และ Spice
จุดแข็งของสมาร์ทดฟนเครื่องนี้อยู่ที่ราคาถูก ทุกคนสามารถจ่ายเงินซื้อได้ แม้ว่ามือถือแอนดรอยด์จะมีอยู่หลายหลายรุ่นแล้วแต่มีความพิเศษนั่นก็คือ กูเกิลโดดลงมาทำเอง นิยามของรุ่นี้ง่ายๆก็คือ Nexus ราคาประหยัดนั่นเอง สิ่งที่เหมือนกับ Nexus ก็คือ กูเกิลได้จับมือเป็นพันธมิตรให้บริษัทอื่นเป็นผู้ผลิตเครื่องให้แบบ OEMs ส่วนตัวเองก็ทำหน้าที่ควบคุมอีกที โโยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ กูเกิลอนุญาตให้บริษัทผู้ผลิตสามารถติดแบรนด์ของตัวเอง รวมถึงการโปรโมทและการกระจายสินค้าด้วย
จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สมาร์ทโฟนจากทั้งสามเครือข่ายจะมีฮาร์ดแวร์ที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู quad-core 1.3 GHz จาก MediaTek ซึ่งมาจับมือกับกูเกิลเป็นครั้งแรก, RAM 1 GB , พื้นที่เก็บข้อมูล 4 GB พร้อมช่องเสียบ microSD เพิ่มพื้นที่ได้ ส่วนหน้าจอมีขนาด 4.5 นิ้วที่ความละเอียด 845 x 480 พิกเซล แม้สเปคจะกลางๆแต่ก็ยังได้ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 4.4 สมาร์ทโฟนทั้งสามตัวจะใช้ชื่อรุ่นแยกตามบริษัทผู้ผลิตดังนี้ Karbonn Sparkle V, Micromax Canvas A1 และ Spice Dream Uno
สิ่งที่ไม่ได้เป็นมาตรฐานเดียวกันก็คือเรื่องราคาขายนี่แหละค่ะ โดยราคาจะอยู่ระหว่าง 6000 – 7000 รูปี ( ประมาณ 3,200 – 3,700 บาท) เรื่องที่แตกต่างอีกอย่างก็คือ ราคาแพคเกจค่าบริการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากใช้ของเครือข่าย Airtel ก็จะสามารถอัพเดทระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ผ่าน 3G ได้ฟรี นอกจากนั้นยังโหลดแอปได้ 200 MB ต่อเดือน ถ้าใครสนใจสมาร์ทโฟนทั้งสามรุ่นจะเริ่มวางจำหน่ายในอินเดียผ่าน e-tailers ร้านออนไลน์ก่อน ส่วนร้านทั่วไปจะเริ่มวางขายอย่างเป็นทางการในเดือนหน้าค่ะ
แน่นอนว่าทางกูเกิลยังไม่หยุดโปรเจค Android One ไว้เพียงเท่านี้ นี่เป็นแค่เพียงสมาร์ทโฟนล็อตแรกเท่านั้น ล็อตที่สองสามสี่ต้องมีตามมาอีก เพราะทางกูเกิลเองก็ได้ไปจับมือกับ Acer, Alcatel, ASUS, HTC, Intex, Lava, Lenovo, Panasonic และ Xolo ให้มาผลิตเครื่องให้ ในอนาคตตัวซีพียูเองก็อาจจะย้ายไปใช้ของ Qualcomm ด้วย นอกจากนั้นยังจะขยายตลาดไปยังประเทศอื่นๆอย่างอินโดนีเซีย, บังคลาเทศ, ฟิลิปปินส์ ที่เป็นตลาดเกิดใหม่ ส่วนกำหนดเวลาก็คงไม่น่าเกินปลายปีนี้
slashgear.
จุดแข็งของสมาร์ทดฟนเครื่องนี้อยู่ที่ราคาถูก ทุกคนสามารถจ่ายเงินซื้อได้ แม้ว่ามือถือแอนดรอยด์จะมีอยู่หลายหลายรุ่นแล้วแต่มีความพิเศษนั่นก็คือ กูเกิลโดดลงมาทำเอง นิยามของรุ่นี้ง่ายๆก็คือ Nexus ราคาประหยัดนั่นเอง สิ่งที่เหมือนกับ Nexus ก็คือ กูเกิลได้จับมือเป็นพันธมิตรให้บริษัทอื่นเป็นผู้ผลิตเครื่องให้แบบ OEMs ส่วนตัวเองก็ทำหน้าที่ควบคุมอีกที โโยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ กูเกิลอนุญาตให้บริษัทผู้ผลิตสามารถติดแบรนด์ของตัวเอง รวมถึงการโปรโมทและการกระจายสินค้าด้วย
จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สมาร์ทโฟนจากทั้งสามเครือข่ายจะมีฮาร์ดแวร์ที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู quad-core 1.3 GHz จาก MediaTek ซึ่งมาจับมือกับกูเกิลเป็นครั้งแรก, RAM 1 GB , พื้นที่เก็บข้อมูล 4 GB พร้อมช่องเสียบ microSD เพิ่มพื้นที่ได้ ส่วนหน้าจอมีขนาด 4.5 นิ้วที่ความละเอียด 845 x 480 พิกเซล แม้สเปคจะกลางๆแต่ก็ยังได้ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 4.4 สมาร์ทโฟนทั้งสามตัวจะใช้ชื่อรุ่นแยกตามบริษัทผู้ผลิตดังนี้ Karbonn Sparkle V, Micromax Canvas A1 และ Spice Dream Uno
สิ่งที่ไม่ได้เป็นมาตรฐานเดียวกันก็คือเรื่องราคาขายนี่แหละค่ะ โดยราคาจะอยู่ระหว่าง 6000 – 7000 รูปี ( ประมาณ 3,200 – 3,700 บาท) เรื่องที่แตกต่างอีกอย่างก็คือ ราคาแพคเกจค่าบริการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากใช้ของเครือข่าย Airtel ก็จะสามารถอัพเดทระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ผ่าน 3G ได้ฟรี นอกจากนั้นยังโหลดแอปได้ 200 MB ต่อเดือน ถ้าใครสนใจสมาร์ทโฟนทั้งสามรุ่นจะเริ่มวางจำหน่ายในอินเดียผ่าน e-tailers ร้านออนไลน์ก่อน ส่วนร้านทั่วไปจะเริ่มวางขายอย่างเป็นทางการในเดือนหน้าค่ะ
แน่นอนว่าทางกูเกิลยังไม่หยุดโปรเจค Android One ไว้เพียงเท่านี้ นี่เป็นแค่เพียงสมาร์ทโฟนล็อตแรกเท่านั้น ล็อตที่สองสามสี่ต้องมีตามมาอีก เพราะทางกูเกิลเองก็ได้ไปจับมือกับ Acer, Alcatel, ASUS, HTC, Intex, Lava, Lenovo, Panasonic และ Xolo ให้มาผลิตเครื่องให้ ในอนาคตตัวซีพียูเองก็อาจจะย้ายไปใช้ของ Qualcomm ด้วย นอกจากนั้นยังจะขยายตลาดไปยังประเทศอื่นๆอย่างอินโดนีเซีย, บังคลาเทศ, ฟิลิปปินส์ ที่เป็นตลาดเกิดใหม่ ส่วนกำหนดเวลาก็คงไม่น่าเกินปลายปีนี้
slashgear.